สันทนาการ

สันทนาการ มาจากคำว่า
สนทนา + อาการ เป็นคำศัพท์แรกที่ราชบัญฑิตยสถานได้บัญญัติขึ้น มีความหมายว่า...
"สันทนาการ คือ
อาการของ ความสุข"
อาการของการพูดคุย หรือเล่าเรื่อง มักใช้เรียก
วิทยากร หรือนักพูด ในสมัยก่อน เช่น
อ.จตุพล อ.แม่ อ.สุขุม ต่อมา พ.ศ. 2508พระยาอนุมานราชธนได้เปลี่ยนจากคำว่า
สันทนาการ มาเป็นคำว่า นันทนาการ เพื่อให้สอดคล้องกับพื้นฐานศัพท์ในภาษาสากล (RECREATION)
มีความหมายมาจาก นันทะ + อาการ คือ อาการของความสุข
กิจกรรมนันทนาการจะต้องมีลักษณะดังต่อไปนี้
1. เป็นกิจกรรม (Activity) กล่าวคือ
เป็นการกระทำด้วยการเคลื่อนไหวของอวัยวะต่าง ๆ
ของร่างกายหรือเปลี่ยนแปลงอิริยาบถที่มีปฏิกิริยาต่อสิ่งแวดล้อม เช่น การวิ่งออกกำลังกาย การเดินออกกำลังกาย การเล่นกีฬา
ดูโทรทัศน์ ฟังวิทยุ ฯลฯไม่หมายถึงการนอนหลับ
แต่ต้องเป็นการเคลื่อนไหวและมีผลต่อการเรียนรู้และประสบการณ์ของชีวิตของคนเราด้วย
2. กระทำในเวลาว่าง (Leisure time) ลักษณะของกิจกรรมนันทนาการนั้นบุคคลต้องเข้าร่วมในเวลาว่างเท่านั้น
เวลาว่าง หมายถึง เวลาที่บุคคลเป็นอิสระจากการหาเลี้ยงชีพ
และเป็นเวลาที่เหลือจากการนอนและการประกอบกิจวัตรประจำวัน เช่น อาบน้ำ แปรงฟัน
แต่งตัวเป็นต้น
3. ความสมัครใจ (Voluntary) เป็นการเข้าร่วมกิจกรรมนั้น
ๆ ต้องเป็นไปโดยความสมัครใจ
4. ความสนุกสนานและความสมัครใจ (Satisfaction) กิจกรรมนั้นต้องก่อให้เกิดความพึงพอใจเพลิดเพลินสนุกสนานในทันทีและเกิดความพอใจทั้งปัจจุบันและอนาคต
5. การสร้างสรรค์ (Constructive) กิจกรรมนั้นจะต้องมีคุณค่าและประโยชน์ต่อตนเองและสังคมโดยส่วนรวม
รวมทั้งไม่เป็นอบายมุขหรือเหตุแห่งความเสื่อมเสียทั้งหลาย
6.ไม่เป็นกิจกรรมสำหรับเลี้ยงชีพหรือเป็นอาชีพ (Non - resurvival) เช่น การเล่นกีฬาเพื่อความสนุกสนาน
และเป็นการออกกำลังกายโดยไม่ต้องการเงินตอบแทนถือเป็นกิจกรรมนันทนาการ
จะเห็นว่า
กิจกรรมนันทนาการมีหลายประเภท บุคคลสามารถเลือกกิจกรรมที่เหมาะสมกับตนเอง
อันจะก่อให้เกิดความพอใจ ความสนุกสนาน และยังเกิดประโยชน์ที่สร้างสรรค์
ทั้งต่อตนเองและสังคม อันจะนำไปสู่การมีคุณภาพชีวิตที่ดีต่อไป
ทฤษฎี
การเสริมแรงทางบวกเป็นแนวคิดหนึ่งของทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบการกระทำ (Operant
conditioning Theory) ซึ่งการเสริมแรงพัฒนาโดยนักจิตวิทยาชาวอเมริกันชื่อ
Burrhus F. Skinner
ทฤษฎีนี้มีความเชื่อว่า
พฤติกรรมของบุคคลเป็นผลพวงมาจากการปฏิสัมพันธ์กับสภาพแวดล้อม
พฤติกรรมที่เกิดขึ้น (Emitted) ของบุคคลจะเปลี่ยนไปเนื่องมาจากผลกรรม (Consequence) ที่เกิดขึ้นใน
สิ่งแวดล้อมนั้น Skinner ให้ความสนใจกับผลกรรม 2 ประเภทคือ ผลกรรมที่เป็นตัวเสริมแรง(reinforcer)
ทำให้พฤติกรรมที่บุคคลนั้นกระทำอยู่มีอัตราการกระทำเพิ่มมากขึ้นและ
ผลกรรมที่เป็นตัวลงโทษ
(purnisher) ทำให้พฤติกรรมที่บุคคลกระทำนั้นยุติลง
ซึ่งในที่นี้จะกล่าวถึงเฉพาะผลกรรมที่เป็นตัว
เสริมแรงทางบวก(Positive
Reinforcer)
หลักการทัว่ ไปในการใช้การเสริมแรงทางบวกอย่างมีประสิทธิภาพ
การเสริมแรงทางบวกนั้น
สามารถใช้ได้กับพฤติกรรมที่ต้องการพัฒนาหรือพฤติกรรมพึง
ประสงค์ เพียงแต่ผู้นำไปใช้จะต้องสามารถเลือกตัวเสริมแรงได้อย่างเหมาะสมและมีหลักการนำไปใช้ดังนี้
(สมโภชน์ เอี่ยมสุภาษิต,
2549 และ ประทีป จินงี่, 2540)
1. เสริมแรงทางบวกจะต้องให้หลังจากการเกิดพฤติกรรมเป้าหมายเท่านั้น
2. การเสริมแรงจะต้องกระทำทันทีที่เกิดพฤติกรรมเป้าหมาย
3. การเสริมแรงควรให้อย่างสม่ำเสมอ
4. ควรมีการบอกเงื่อนไขการให้การเสริมแรง
5. ตัวเสริมแรงนั้นควรจะมีปริมาณพอเหมาะที่จะเสริมแรงพฤติกรรมโดยไม่ก่อให้เกิดการหมด
สภาพการเป็นตัวเสริมแรง
6. ตัวเสริมแรงนั้นจะต้องเลือกให้เหมาะกับแต่ละบุคคล

วิเคราะห์
จากการทำกิจกรรมสันทนาการในค่ายพัฒนาสังคม
เมื่อฝ่ายปกครองกดดันน้องเยาวชน ทำให้มีอารมณ์หดหู่
อาจส่งผลให้เกิดการไม่ปฏิบัติต่อคำสั่ง อาจถึงขั้นแสดงปฏิกิริยาตอบโต้ด้วยท่าทีรุนแรง
หรือที่หนักที่สุดคือการแก้ปัญหาด้วยกำลังกับพี่ปกครองหรือการกลับบ้านไปเลยโดยไม่ต้องการร่วมกิจกรรมอีกต่อไป
ฝ่ายบันเทิงจึงเป็นฝ่ายสำคัญที่เข้ามาแก้ไขเหตุการณ์เฉพาะหน้า และสถานการณ์เช่นนี้
ด้วยรอยยิ้ม เสียงหัวเราะ และความสนุกสนาน เพื่อที่การทำกิจกรรมของค่ายสามารถดำเนินต่อไปได้
และด้วยช่องว่างทางอารมณ์ที่เกิดขึ้นนี้ เราสามารถเสริมแรงทางบวก
ด้วยการชักจูงจากกิจกรรมต่างๆของพี่บันเทิงและพี่ธุรการ ให้น้องๆมีอุดมการณ์
รักในชาติ ศาสน์ กษัตริย์ เป็นคนเก่ง คนดี คนเสียสละ
ตามวัตถุประสงค์ของค่ายอีกด้วย
ผู้จัดทำ นนร.เสถียรพงศ์ เสถียรปกิรณกรณ์ ชั้นปีที่ 2 ตอน สศ.1 เลขที่ 3